ประวัติการเต้น
ประวัติการเต้นรำทั้งในและนอกประเทศ
ความต้องการของมนุษย์ที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งรองจากปัจจัยสี่
คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค
ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้วนั้นคือ ความต้องการเกี่ยวกับความสนุกสนานรื่นเริง
ดังเห็นได้ว่าชนแต่ละชาติแต่ละเผ่ามักจะใช้วิธีการแสดงออกเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงสำหรับชนเผ่าของตนเองตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์มาแล้วทั้งสิ้น
วิธีการแสดงออกเพื่อความสนุกสนานที่สำคัญอย่างหนึ่งและมักจะปฏิบัติอยู่เสมอโดยทั่วไปนั้นคือ
การแสดงออกด้วยการเต้นรำหรือร้องรำทำเพลงนั้นเอง การแสดงออกด้วยการร้องรำทำเพลงหรือเต้นรำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงอาจจะเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ที่เป็นไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงอย่างแท้จริง
การแสดงออกด้วยการร้องรำทำเพลงด้วยความสนุกสนานนี้แต่ละชนชาติแต่ละเผ่าจะมีวิธีการแสดงออกที่เป็นลักษณะเฉพาะ
ของตนเอง ทั้งนี้อาจจะมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อม ชีวิตการเป็นอยู่
ขนบธรรมเนียมประเพณีนิยม ตลอดจนความเชื่อโชคลางต่างๆ
และอาจจะเป็นจากสาเหตุนี้เองที่ทำให้การร้องรำทำเพลงของแต่ละชนชาติซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณนั้นกลายมาเป็นศิลปะประจำชาติของแต่ละชาติไปดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
การเต้นรำ เป็นศิลปะที่เกี่ยวกับ การเคลื่อนไหวประกอบกับการแสดงความรู้สึก ประวัติของการเต้นรำส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากการที่คนพยายามที่จะเลียนแบบการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติหรือเกิดมาจากการเต้นรำที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางศาสนาเพื่อแสดงออกถึงความเชื่อของตนเองหรือของกลุ่ม การเคลื่อนไหวบางประเภทเกิดมาจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อาทิเช่นการที่คนเราเคลื่อนไหวตามจังหวะเลียนแบบท่าทางในชีวิตประจำวันหรือใช้เครื่องมืออุปกรณ์การทำงานในแต่ละวันแทนเครื่องดนตรี
การเต้นรำ เป็นศิลปะที่เกี่ยวกับ การเคลื่อนไหวประกอบกับการแสดงความรู้สึก ประวัติของการเต้นรำส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากการที่คนพยายามที่จะเลียนแบบการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติหรือเกิดมาจากการเต้นรำที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางศาสนาเพื่อแสดงออกถึงความเชื่อของตนเองหรือของกลุ่ม การเคลื่อนไหวบางประเภทเกิดมาจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อาทิเช่นการที่คนเราเคลื่อนไหวตามจังหวะเลียนแบบท่าทางในชีวิตประจำวันหรือใช้เครื่องมืออุปกรณ์การทำงานในแต่ละวันแทนเครื่องดนตรี
การลีลาศเป็นกิจกรรมการบันเทิงที่ถือกำเนิดจากความต้องการของการร้องรำทำเพลงเพื่อแสดงออกซึ่งความสนุกสนาน
รื่นเริงอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขึ้นในยุโรปประมาณศตวรรษที่ 15 และในสมันต่อมาการลีลาศแบบนี้ก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ
เป็นแบบและจังหวะต่างๆ เช่น วอลซ์ แทงโก้ บีกินและอื่นๆ
จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
การลีลาศนอกจากเป็นกิจกรรมการบันเทิงที่สนองความต้องการของร่างกายและจิตใจและเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงในโอกาสพบปะสังสรรค์กันได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังถือว่าเป็นศิลปะการเคลื่อนไหวของส่วนต่างๆ ของร่างกายที่มีลีลาเต็มไปด้วยความสง่างามตามความรู้สึกของอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากดนตรีในขณะที่ลีลาศนั้นอย่างยิ่งอีกด้วย
เป็นเวลาหลายร้อยปีที่รูปแบบและลักษณะของการเต้นรำค่อยๆ มีการพัฒนาและในปัจจุบันได้รับความนิยมไปทั่วโลก เช่น แอฟริกัน แด๊นซ์ เบลลี่ แด๊นซ์ หรือ ระบำหน้าท้อง และแอฟโฟร แคริบเบียน เป็นต้น การเต้นบางประเภทก็ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเคลื่อนไหวและผสมผสานกับเทคนิคการเต้นรำสมัยใหม่ จนในที่สุดได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น นิวยอร์ก ซัลซ่า อาร์เจนทีน่า แทงโก้ ซู๊ค และ ฟลามิงโก้ เป็นต้น การเต้นรำเป็นภาษาที่ไม่ต้องใช้คำพูดโดยใช้การแสดงออกจากการผสมผสานการเคลื่อนไหวกับดนตรี การเรียนรู้การเต้นรำประเภทต่าง ๆ จากรอบโลกจะช่วยทำให้คุณสามารถเข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีและชีวิตความเป็นอยู่ของคนจากประเทศนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี การเรียนเต้นรำจะช่วยเปิดโลกทัศน์ของคุณให้กว้างขึ้นและเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว
การเต้นรำสามารถช่วยให้คุณสามารถแสดงออกในความเป็นตัวเองให้ความสุขพลังและทำให้รู้สึกคลายเครียดสบายการฝึกการเต้นรำอยู่เป็นประจำจะช่วยพัฒนาสุชภาพทั้งทางด้านจิตใจและร่างกายจึงทำให้คุณมีรูปร่างที่ดีแข็งแรงและสามารถดูเด็กอยู่เสมออีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้พบปะเพื่อนและสังคมใหม่ๆ
การลีลาศนอกจากเป็นกิจกรรมการบันเทิงที่สนองความต้องการของร่างกายและจิตใจและเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงในโอกาสพบปะสังสรรค์กันได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังถือว่าเป็นศิลปะการเคลื่อนไหวของส่วนต่างๆ ของร่างกายที่มีลีลาเต็มไปด้วยความสง่างามตามความรู้สึกของอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากดนตรีในขณะที่ลีลาศนั้นอย่างยิ่งอีกด้วย
เป็นเวลาหลายร้อยปีที่รูปแบบและลักษณะของการเต้นรำค่อยๆ มีการพัฒนาและในปัจจุบันได้รับความนิยมไปทั่วโลก เช่น แอฟริกัน แด๊นซ์ เบลลี่ แด๊นซ์ หรือ ระบำหน้าท้อง และแอฟโฟร แคริบเบียน เป็นต้น การเต้นบางประเภทก็ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเคลื่อนไหวและผสมผสานกับเทคนิคการเต้นรำสมัยใหม่ จนในที่สุดได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น นิวยอร์ก ซัลซ่า อาร์เจนทีน่า แทงโก้ ซู๊ค และ ฟลามิงโก้ เป็นต้น การเต้นรำเป็นภาษาที่ไม่ต้องใช้คำพูดโดยใช้การแสดงออกจากการผสมผสานการเคลื่อนไหวกับดนตรี การเรียนรู้การเต้นรำประเภทต่าง ๆ จากรอบโลกจะช่วยทำให้คุณสามารถเข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีและชีวิตความเป็นอยู่ของคนจากประเทศนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี การเรียนเต้นรำจะช่วยเปิดโลกทัศน์ของคุณให้กว้างขึ้นและเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว
การเต้นรำสามารถช่วยให้คุณสามารถแสดงออกในความเป็นตัวเองให้ความสุขพลังและทำให้รู้สึกคลายเครียดสบายการฝึกการเต้นรำอยู่เป็นประจำจะช่วยพัฒนาสุชภาพทั้งทางด้านจิตใจและร่างกายจึงทำให้คุณมีรูปร่างที่ดีแข็งแรงและสามารถดูเด็กอยู่เสมออีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้พบปะเพื่อนและสังคมใหม่ๆ
ประวัติการเต้นรำในยุคต่างๆ
ประวัติการลีลาศหรือเต้นรำ
มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันกับเต้นรำแบบอื่นๆ มาก เช่น การเต้นระบำบัลเล่ย์
การเต้นรำพื้นเมือง ฯลฯ จึงขอสรุปโดยแบ่งยุคการเต้นรำออกเป็น 6 ยุคดังนี้
1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์
2. ยุคโบราณ
3. ยุคกลาง
4. ยุคฟื้นฟู
5. ยุคโรแมนติก
6. ยุคปัจจุบัน
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
การเต้นรำถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของการแสดงออกของบุคคล
ศิลปะการเต้นรำในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ถูกค้นพบ
จากภาพวาดบนผนังถ้ำในแอฟริกาและยุโรปตอนใต้
ซึ่งศิลปะในการเต้นรำได้ถูกวาดมาไม่น้อยกว่า20,000 ปี พิธีกรรมทางศาสนาจะรวมการเต้นรำ การดนตรี
และการแสดงละคร
ซึ่งเป็นสิ่งในชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาก
พิธีกรรมเหล่านี้อาจเป็นการบวงสรวงเทพเจ้าเทพธิดา หรือจากการล่าสัตว์มาได้
หรือการออกสงคราม นอกจากนี้อาจมีการเฉลิมฉลองการเต้นรำด้วยเหตุอื่นๆ เช่น
ฉลองการเกิด การหายจากเจ็บป่วย หรือการไว้ทุกข์
ยุคโบราณ
การเต้นรำของพวกที่นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพวกที่ไม่มีศาสนาในสมัยโบราณนั้น โดยเฉพาะในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง มีภาพวาด รูปปั้นแกะสลักและบทประพันธ์ของชาว อียิปต์โบราณ แสดงให้เห็นว่า การเต้นรำได้ถูกจัดขึ้นในพิธีศพขบวนแห่ และพิธีกรรมทางศาสนา ชาว อียิปต์โบราณส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ทุกๆปีแม่น้ำไนล์จะหลากเมื่อน้ำลดจะทำการเพาะปลูกและมีการเต้นรำหรือแสดงละคร เพื่อขอบคุณเทพเจ้าโอซิริส (God Osiris) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการเกษตร นอกจากนี้การเต้นรำยังนำมาใช้ในงานส่วนตัวเพื่อความสนุกสนาน เช่น การเต้นรำของพวกข้าทาส ซึ่งจัดขึ้นเพื่อความสนุกสนานและต้อนรับแขกที่มาเยือนกรีกโบราณเห็นว่าการเต้นรำเป็นสิ่งจำเป็นในการศึกษา การบวงสรวงเทพเจ้า เทพธิดา และการแสดงละคร ปรัชญาเมธีพลาโต ให้ความเห็นว่า “พลเมืองกรีกที่ดี ต้องเรียนรู้การเต้นรำเพื่อพัฒนาการบังคับร่างกายตนเอง ทักษะในการต่อสู้” ดังนั้น การเต้นรำด้วยอาวุธ จึงถูกนำมาใช้ในการศึกษาทางทหารของเด็กทั้งในรัฐเอเธนส์และสปาร์ต้า นอกจากนี้ยังถูกนำมาใช้ในการแต่งงาน ฤดูการเก็บเกี่ยวพืชผล
และในโอกาสอื่นๆ
การเต้นรำทางศาสนา
เป็นส่วนสำคัญในการกำเนิดการละครของกรีก ระหว่าง 500 ปี ก่อน
ค.ศ.การละครของกรีกเรียกว่า “ Tragidies” ซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวดในโบสถ์ และการเต้นรำเพื่อสรรเสริญเทพเจ้าดิโอนิซุส
(God Dionysus ) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่น
การเต้นรำแบบ Emmeieia เป็นการเต้นรำที่สง่าภูมิฐาน
ได้ถูกนำมาใช้ในละคร Tragedies
โดยครูสอนเต้นรำจะต้องบอกเรื่องราวและ ชี้แนะท่าทางที่ต้องแสดงเพื่อให้จดจำได้
การแสดงตลกขบขันสั้นๆ ของกรีกเรียกว่า “Satyrs”
ก็จัดอยู่ในการเต้นรำของกรีกด้วย
เมื่อโรมันรบชนะกรีก เมื่อ 197 ปี ก่อน ค.ศ.โรมันได้ปรับปรุงวัฒนธรรมการเต้นรำของกรีกให้ดีขึ้น การเต้นรำของโรมันคล้ายกับของกรีกที่ เต้นรำเพื่อบวงสรวงเทพเจ้า หญิงชาวโรมันก็จะถูกฝึกให้เต้นรำ แม้แต่ชาวต่างชาติหรือพวกข้าทาสที่อยู่ในโรมันก็จะมีการเต้นรำด้วย ชาว โรมันจะเต้นรำหลังจากการเพาะปลูกหรือกลับจากสงคราม ในยุคนี้มีนักเต้นรำของโรมันที่มีชื่อเสียงมาก คือ ซิซีโร ( Cicero : 106-43 B.C.)ซึ่งเป็นผู้คิดและปรับปรุงลักษณะท่าทางการเต้นรำของโรมันให้ดีขึ้น
เมื่อโรมันรบชนะกรีก เมื่อ 197 ปี ก่อน ค.ศ.โรมันได้ปรับปรุงวัฒนธรรมการเต้นรำของกรีกให้ดีขึ้น การเต้นรำของโรมันคล้ายกับของกรีกที่ เต้นรำเพื่อบวงสรวงเทพเจ้า หญิงชาวโรมันก็จะถูกฝึกให้เต้นรำ แม้แต่ชาวต่างชาติหรือพวกข้าทาสที่อยู่ในโรมันก็จะมีการเต้นรำด้วย ชาว โรมันจะเต้นรำหลังจากการเพาะปลูกหรือกลับจากสงคราม ในยุคนี้มีนักเต้นรำของโรมันที่มีชื่อเสียงมาก คือ ซิซีโร ( Cicero : 106-43 B.C.)ซึ่งเป็นผู้คิดและปรับปรุงลักษณะท่าทางการเต้นรำของโรมันให้ดีขึ้น
ยุคกลาง
เป็นยุคที่ค่อนข้างสับสนวุ่นวาย สังคมไม่สงบสุข
โบสถ์มีอิธิพลต่อการเต้นรำของยุโรปมาก โบสถ์มีข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการเต้นรำ
ทั้งนี้เป็นเพราะการเต้นรำบางอย่างถือว่าต่ำช้าและเพื่อกามารมณ์ อย่างไรก็ดี
ผู้ที่ชอบการเต้นรำมักจะหาโอกาสจัดงานเต้นรำขึ้นใน หมู่บ้านของตนอยู่เสมอ ในปี
ค.ศ. 300 บรรดาผู้ใช้แรงงานฝีมือ ได้จัดละครทางศาสนาขึ้นและมีการเต้นรำรวมอยู่ด้วย
ระหว่างปี ค.ศ. 300 กาฬโรคซึ่งเรียกว่า “ ความตายสีดำ” ระบาดในยุโรป ทำลายชีวิตผู้คนไปมากจนทำให้ผู้คนแทบเป็นบ้าคลั่ง
ประชาชนจะร้องเพลง และเต้นรำคล้ายคนวิกลจริตที่หน้าหลุมศพ
ซึ่งเขาเรียกว่าการแสดงของเขาจะช่วยขับไล่สิ่งเลวร้ายและขับไล่ความตายให้หนีไปจากชีวิต
ความเป็นอยู่ของเขา ในยุคกลางยุโรปยังมีการเฉลิมฉลองการแต่งงาน วันหยุด
และประเพณีต่างๆตามโอกาสด้วย “ การเต้นรำพื้นเมือง”ผู้ใหญ่และเด็กในชนบทจะจัดรำดาบ และเต้นรำรอบเสาสูงที่ผูกริบบิ้นจาก
ยอดเสา(Maypoles) พวกขุนนางที่ไปพบเห็นก็ได้นำมาพัฒนา
ปรับปรุงให้ดีขึ้น การเต้นรำแบบวงกลมของบรรดาขุนนางซึ่งเรียกว่า “Carol” เป็นการเต้นรำที่ค่อนข้างช้า ในช่วงปลายยุคกลาง การเต้นรำ
ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนแห่ต่างๆหรือในงานเลี้ยงที่มีเกียรติ
ยุคฟื้นฟู
เป็นยุคที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
ยุคฟื้นฟูเริ่มในอิตาลี เมื่อปี ค.ศ. 300 ในช่วงปลายสมัยกลางแล้วแผ่ขยายไปในยุโรป
ปี ค.ศ. 300 ในอิตาลี ขุนนางที่มั่นคงในเมืองต่างๆ
จะจ้างครูเต้นรำอาชีพมาสอนในคฤหาสน์ของตนเรียกการเต้นรำสมัยนั้นว่าBalli หรือBalletti ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี แปลว่า “การเต้นรำ”
ในปี ค.ศ. 1588 พระชาวฝรั่งเศสชื่อ โตอิโน อาโบ (Thoinnot Arbeau: ค.ศ.
1519-1589)ได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการเต้นรำ ชื่อ ออเชโซกราฟี (Orchesographin) ในหนังสือได้บรรยายถึงการเต้นรำแบบต่างๆหลายแบบ
เป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก บันทึกถึงการ เต้นรำที่นิยมใช้กันในบ้านขุนนางต่างๆ
ในยุโรประหว่างศตวรรษที่ 16 งานเลี้ยงฉลองได้ถูกจัดขึ้นตามโอกาสต่างๆเช่น วันเกิด
การแต่ง งาน และการต้อนรับแขกที่มาเยือนในงานจะรวมพวกการเต้นรำ การประพันธ์
การดนตรี และการจัดฉากละครด้วย ขุนนางผู้หนึ่งชื่อ Lorenzo de Medlci ได้จัดงานขึ้นที่คฤหาสน์ของตน โดยตกแต่งคฤหาสน์ด้วยสีสันต่างๆ
และจัดให้มีการแข่งขันหลายๆอย่าง รวมทั้งการเต้นรำสวมหน้ากาก (Mask Dance) ซึ่งต้องใช้จังหวะ ดนตรีประกอบการเต้นพระนางแคทเธอรีน เดอ เมดิซี (Catherine
de Medicis ) พระราชินีในพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2
เดิมเป็นชาวฟลอเรนซ์แห่งอิตาลี พระองค์ได้นำคณะเต้นรำของอิตาลีมาเผยแพร่ในพระราชวังของฝรั่งเศส
และเป็นจุดเริ่มต้นของระบำบัลเล่ย์
พระองค์ได้จัดให้มีการแสดงบัลเล่ย์โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงด้วย
ในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
ได้ปรับปรุงและพัฒนาการบัลเล่ย์ใหม่ได้ตั้งโรงเรียนบัลเล่ย์ขึ้นแห่งแรก ชื่อ Academic Royale de Dance จนทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของยุโรป
พระองค์คลุกคลีกับวงการบัลเล่ย์มาไม่น้อยกว่า 200 ปี โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงด้วย
บทบาทที่พระองค์ทรงโปรดมากที่สุดคือ บทเทพอพอลโลของกรีก จนพระองค์ได้รับสมญานามว่า“พระราชาแห่งดวงอาทิตย์” การบัลเล่ย์ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่14
นี้ค่อนข้างจะสมบูรณ์มาก
การเต้นระบำบัลเล่ย์ในพระราชวังนี้เป็นพื้นฐานของการลีลาศ
การเต้นรำในปี ค.ศ. 1700 ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ Gavotte,Allemande และMinuetรูปแบบการเต้นจะประกอบด้วยการก้าวเดินหรือวิ่ง การร่อนถลา
การขึ้นลงของลำตัว การโค้ง และถอน สายบัว ภายหลังได้แพร่ไปสู่ยุโรปและอเมริกา
เป็นที่ชื่นชอบของ ยอร์ช วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกามาก การเต้นรำใน
อังกฤษซึ่งเป็นการเต้นรำพื้นเมืองและนิยมกันมากในยุโรป เรียกว่า Country
Dance ภายหลังได้แพร่ไปสู่อาณานิคมตอนใต้ของอเมริกา
ยุคโรแมนติก
เป็นยุคที่มีการปฏิรูปเรื่องบัลเล่ย์ในสมัยนี้นักเต้นรำมีความเป็นอิสระเสรีในการเคลื่อนไหวและการแสดงออกของบุคคล
สมัยก่อนการแสดงบัลเล่ย์มักจะแสดงเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า เทพธิดา
แต่สมัยนี้มุ่งแสดงเกี่ยวกับชีวิตคนธรรมดาสามัญ เป็นเรื่องง่ายๆและ จินตนาการ
ในสมัยที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศส ( ค.ศ. 1789 )
ได้มีการกวาดล้างพวกกษัตริย์และพวกขุนนางไป เกิดความรู้สึกอย่างใหม่ คือ
ความมีอิสระเสรีเท่าเทียมกัน เกิดการเต้นวอลซ์ ซึ่งรับมาจากกรุงเวียนนา
ประเทศออสเตรีย ซึ่งเชื่อกันว่ามีรากฐานมาจากการเต้นLandlerการเต้นวอลทซ์ได้แพร่หลายไปสู่ประเทศที่เจริญแล้วในยุโรปตะวันตก
เนื่องจากการเต้นวอลซ์อนุญาตให้ชายจับมือและเอวของคู่เต้นรำได้
จึงถูกคณะพระคริสประณามว่าไม่เหมาะสมและไม่สุภาพเรียบร้อย ในช่วงปี ค.ศ.
1800-1900การเต้นรำใหม่ๆที่เป็นที่นิยมกันมากในยุโรปและอเมริกา จะเริ่มต้นจากคนธรรมดาสามัญโดยการเต้นรำพื้นเมือง
พวกขุนนางเห็นเข้าก็นำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับราชสำนัก เช่น การเต้น โพลก้า วอลซ์
ซึ่งกลายเป็นที่นิยมมากของคนชั้นกลางและชั้นสูง
ในอเมริการูปแบบใหม่ในการเต้นรำที่นิยมมากในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพและพวกที่ยากจน คน
ผิวดำนิยมเต้น Tap-Danced หรือระบำย่ำเท้า
โดยรวมเอาการเต้นรำพื้นเมืองในแอฟริกา
การเต้นแบบจิ๊ก ( jig) ของชาวไอริส
และการเต้นรำแบบคล๊อก (Clog) ของชาวอังกฤษเข้าด้วยกัน
คนผิวดำมักจะเต้นไปตามถนนหนทางก่อนปี ค.ศ. 1870
การเต้นรำได้ขยายไปสู่เมืองต่างๆในอเมริกา ผู้หญิงที่ชอบร้องเพลงประสานเสียงจะเต้นระบำแคนแคน
(Can-Can ) โดยใช้การเตะเท้าสูงๆ
เพื่อเป็นสิ่งบันเทิงใจแก่พวกโคบาลที่อยู่ตามชายแดนอเมริกา ระบำแคน แคน
ยุคปัจจุบัน
จังหวะวอลซ์จากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
ซึ่งเกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 17 แต่มิได้ เผยแพร่ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1816
จังหวะวอลซ์ ได้ถูกนำมาเผยแพร่ต่อที่ประชุมโดยพระเจ้ายอร์ชที่ 4
แม้จะไม่สมบูรณ์นักในขณะนั้น
แต่ก็จัดว่าจังหวะวอลซ์เป็นจังหวะแรกของการลีลาศแท้จริง
เพราะคู่ลีลาศสามารถจับคู่เต้นรำได้
ในราวปี ค.ศ. 1840 การเต้นรำบางอย่างกลับมาเป็นที่นิยมอีก อาทิ โพลก้า จากโบฮิเมีย ซึ่งเป็นที่นิยมมากในเวียนนา ปารีส และลอนดอน จังหวะมาเซอก้า( Mazuka)จากโปแลนด์ก็เป็นที่นิยมมากในยุโรปตะวันตก
ในราวกลางศตวรรที่19 การเต้นรำใหม่ๆก็เกิดขึ้นอีกมาก อาทิ การเต้นมิลิตารี่ สก๊อตติช (Millitary Schottische) การเต้นเค็กวอล์ค (Cakewalk) ซึ่งเป็นการเต้นรำแบบหนึ่งของพวกนิโกรในอเมริกา การเต้นทูสเตป (Two-Step) การเต้นบอสตัน (Boston) และการเต้นเตอรกีทรอท (Turkey trot)
ในศตวรรษที่20 ค.ศ. 1910 จังหวะแทงโก้จากอาร์เจนตินา เริ่มเผยแพร่ที่ปารีส เป็นจังหวะที่แปลกและเต้นสวยงามมากในระหว่างปี ค.ศ. 1912-1914 Vemon และ lrene Castle ได้นำรูปแบบการเต้นรำแบบใหม่ๆ จากอังกฤษมาเผยแพร่ในอเมริกาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1ได้แก่จังหวะฟอกซ์ทรอทและแทงโก้
ในราวปี ค.ศ. 1840 การเต้นรำบางอย่างกลับมาเป็นที่นิยมอีก อาทิ โพลก้า จากโบฮิเมีย ซึ่งเป็นที่นิยมมากในเวียนนา ปารีส และลอนดอน จังหวะมาเซอก้า( Mazuka)จากโปแลนด์ก็เป็นที่นิยมมากในยุโรปตะวันตก
ในราวกลางศตวรรที่19 การเต้นรำใหม่ๆก็เกิดขึ้นอีกมาก อาทิ การเต้นมิลิตารี่ สก๊อตติช (Millitary Schottische) การเต้นเค็กวอล์ค (Cakewalk) ซึ่งเป็นการเต้นรำแบบหนึ่งของพวกนิโกรในอเมริกา การเต้นทูสเตป (Two-Step) การเต้นบอสตัน (Boston) และการเต้นเตอรกีทรอท (Turkey trot)
ในศตวรรษที่20 ค.ศ. 1910 จังหวะแทงโก้จากอาร์เจนตินา เริ่มเผยแพร่ที่ปารีส เป็นจังหวะที่แปลกและเต้นสวยงามมากในระหว่างปี ค.ศ. 1912-1914 Vemon และ lrene Castle ได้นำรูปแบบการเต้นรำแบบใหม่ๆ จากอังกฤษมาเผยแพร่ในอเมริกาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1ได้แก่จังหวะฟอกซ์ทรอทและแทงโก้
·ปี
ค.ศ. 2461 สมัยสงครามโลกครั้งที่
1อังกฤษได้เลือกเฟ้นจังหวะเต้นรำทั้งบอลล์รูมและลาตินอเมริกาเรียบเรียงขึ้นเป็นตำรา
วางหลักสูตรของแต่ละจังหวะรัดกุม ในสมัยนี้ประเภทบอลรูม มีเพียง 4 จังหวะคือ วอลซ์
ควิกวอลซ์ สโลว์ฟอกซ์ทรอทและแทงโก้
· ปี ค.ศ. 1920
ในอเมริกาเริ่มนิยมจังหวะ Paso-Dobleและการเต้นรำแบบก้าวเดียวสลับกัน (One-step)
ซึ่งเรียกกันว่าFast fox-trot
· ปี ค.ศ. 1925 จังหวะชาร์ลตัน
( Charleston)เริ่มเป็นที่นิยม รูปแบบการเต้นคล้ายทูสเตป และในปีเดียวกันนี้ Arthur
Murray ก็ได้ให้กำเนิดการเต้นรำแบบสมัยใหม่ (Modem Dances) ขึ้น
การเต้นรำแบบสมัยใหม่นี้เป็นการเต้นรำที่แสดงออกถึงจินตนาการของแต่ละบุคคล
ไม่มีท่าเต้นที่แน่นอนตายตัว บางครั้งก็นำท่าบัลเล่ย์มาผสมผสานด้วย
· ปี ค.ศ. 1929
จังหวะจิตเตอร์บัก ( Jittebug)เริ่มเป็นที่นิยม รูปแบบการเต้นต้องอาศัยยิมนาสติก การเบรก
และการก้าวเท้าย่ำเร็วๆ ในปีเดียวกันอิทธิพลจากเพลงแจ๊สของอเมริกา
ทำให้เกิดจังหวะควิก สเตปขึ้น เป็นจังหวะที่ 5 ของบอลรูม
· ปี ค.ศ. 1929
ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการลีลาศ (Official Board of Ballroom Dancing ) ขึ้นในประเทศอังกฤษและจัดการแข่งขันเต้นรำในอังกฤษทุกปี
· ปี ค.ศ. 1930
การเต้นรำของชาวคิวบา (Cuban
Dance)ก็เป็นที่นิยมมากในอเมิกา คือจังหวะ คิวบันรัมบ้า หรือจังหวะรุมบ้า
· ปี ค.ศ.
1939บรรดาครูลีลาศและผู้ทรงคุณวุติทางลีลาศในอังกฤษได้ร่วมกันวางกฏเกณฑ์ของลวดลายต่างๆ
ในลีลาศเพื่อให้เป็นมาตราฐานเดียวกัน ในแต่ละจังหวะมีประมาณ 20 ลวดลาย
· ปี ค.ศ.
1940การเต้นคองก้าและแซมบ้าจากบราซิลก็เป็นที่นิยมกันมาก
· ปี ค.ศ. 1950 ได้จัดตั้งสภาการลีลาศระหว่างชาติ(
International
Councll of Ballroom Dancing) โดยใช้ชื่อย่อว่า I.C.B.D. และในปีเดียวกันนี้มีจังหวะใหม่ๆ เข้ามาเผยแพร่อีก เช่น จังหวะแมมโบ้จาก
คิวบา ชา ชา ช่า จากโดมินิกัน และเมอเรงเก้จากโดมินิกันเช่นกัน
· ปี ค.ศ. 1959จัดแข่งขันลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนโลกขึ้นที่ประเทศอังกฤษ
โดยจัดทั้งประเภทสมัครเล่นและอาชีพ ตามกฏเกณฑ์ที่สภาการลีลาศระหว่างชาติกำหนด
นอกจากนี้สภาการลีลาศระหว่างชาติได้กำหนดจังหวะมาตรฐานไว้ 4 จังหวะ คือ วอลซ์
ฟอกซ์ทรอท แทงโก้ และควิกสเตป ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2จังหวะที่มีการจัดการแข่งขันมี
วอลซ์แบบอังกฤษ ฟอกซ์ทรอท แทงโก้ ควิก สเตป และเวนิสวอลซ์
นอกจากนี้อมริกาและอังกฤษได้แนะนำร็อคแอนด์โรคให้ชาวโลกได้รู้จัก
· ปี ค.ศ. 1960 มีจังหวะใหม่ๆ
เกิดขึ้นในอเมริกาโดยคนผิวดำคือ จังหวะทวิสต์ การเต้นจะใช้การบิดลำตัว เข่าโค้งงอ
การเต้นจะไม่แตะต้องตัวกับคู่คือต่างคนต่างเต้น นอกจากนี้ยังมีจังหวะฮัสเซิล ( Hustle) และจังหวะบัสสาโนวา(Bossanova)
ซึ่งดัดแปลงจากแซมบ้าของบราซิล
· ปี
ค.ศ. 1970 นิยมการเต้นรำที่เรียกว่า ดิสโก้( Disco)ซึ่งค่อนข้างเต้นแบบอิสระมาก
และก็ได้ทราบถึงประวัติของการเต้นแล้ว
ทีนี้จะยกตัวอย่างประวัติที่เจาลึกลงไปในแต่ละอย่าง โดยจะยกมา 3 ตัวอย่างคือ
ประวัติของการเต้น Ballroom , การเต้น Hip Hop และการเต้น Cover
Dance
ประวัติการเต้น Ballroom
คำว่า “ลีลาศ” หรือ
“เต้นรำ” มีความหมายเหมือนกัน
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปีพุทธศักราช 2525 ได้ให้ความหมายดังนี้
ลีลาศ เป็นนามแปลว่า ท่าทางอันงดงาม
การเยื้องกราย เป็นกิริยาแปลว่า เยื้องกรายเดิน นวยนาด
เต้นรำ เป็นกิริยาแปลว่า
เคลื่อนที่ไปโดยมีระยะก้าวตามกำหนด ให้เข้ากับจังหวะดนตรี ซึ่งเรียกว่า ลีลาศ โดยปกติเต้นเป็นคู่ชายหญิง
คนไทยนิยมเรียกการลีลาศว่า “เต้นรำ”
มานานแล้ว คำว่าลีลาศตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Ballroom
Dancing” หมายถึง
การเต้นรำของคู่ชายหญิงตามจังหวะดนตรีที่มีแบบอย่างและลวดลายการเต้นเฉพาะตัว
โดยมีระเบียบของการชุมนุม ณ สถานที่อันจัดไว้ในสังคม ใช้ในงานราตรีสโมสรต่าง ๆ
และมิใช่การแสดงเพื่อให้คนดู
นอกจากนี้ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่มักจะได้ยินกันอยู่เสมอคือคำว่า “Social Dance” ส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้ในความหมายเดียวกันกับคำว่า Ballroom Dancing แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาคำว่า Social Dance หมายถึง การเต้นรำทุกประเภทที่จัดขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนมาอยู่ร่วมกัน และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเต้นรำเป็นหมู่คณะ
เพื่อให้ได้ความสนุกสานเพลิดเพลิน จึงกล่าวได้ว่า Ballroom Dancing เป็นส่วนหนึ่งของ Social Dance
อาจสรุปได้ว่า “ลีลาศ”
คือ กิจกรรมเข้าจังหวะประเภทหนึ่ง เป็นการเต้นรำที่แสดงออกอย่างมีศิลปะ
โดยใช้เสียงเพลงและจังหวะดนตรีเป็นสื่อ เพื่อให้เกิดความสนุกสนามเพลิดเพลิน
มีลวดลายการเต้น (Figure) เป็นแบบเฉพาะตัว
และมักนำลีลาศมาใช้ในงานสังคมทั่ว ๆ ไป
การเต้นรำถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของการแสดงออกของบุคคล
ศิลปะการเต้นรำในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ถูกค้นพบจากภาพวาดบนผนังถ้ำในแอฟริกาและยุโรปตอนใต้
ซึ่งศิลปะในการเต้นรำได้ถูกวาดมาไม่น้อยกว่า 20,000 ปี พิธีกรรมทางศาสนาจะรวมการเต้นรำ
การดนตรี และการแสดงละคร
ซึ่งเป็นสิ่งในชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาก พิธีกรรมเหล่านี้อาจเป็นการบวงสรวงเทพเจ้าเทพธิดา
หรือจากการล่าสัตว์มาได้ หรือการออกสงคราม
นอกจากนี้อาจมีการเฉลิมฉลองการเต้นรำด้วยเหตุอื่นๆ เช่น ฉลองการเกิด
การหายจากเจ็บป่วย หรือการไว้ทุกข์
การเต้นรำของพวกที่นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพวกที่ไม่มีศาสนาในสมัยโบราณนั้น
โดยเฉพาะในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง มีภาพวาด
รูปปั้นแกะสลักและบทประพันธ์ของชาวอียิปต์โบราณ แสดงให้เห็นว่า
การเต้นรำได้ถูกจัดขึ้นในพิธีศพ ขบวนแห่ และพิธีกรรมทางศาสนา
ชาวอียิปต์โบราณส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ทุกๆ
ปีแม่น้ำไนล์จะหลากเมื่อน้ำลดจะทำการเพาะปลูก และมีการเต้นรำหรือแสดงละคร
เพื่อขอบคุณเทพเจ้าโอซิริส (God Osiris) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการเกษตร
นอกจากนี้การเต้นรำยังนำมาใช้ในงานส่วนตัวเพื่อความสนุกสนาน เช่น
การเต้นรำของพวกข้าทาส ซึ่งจัดขึ้นเพื่อความสนุกสนานและต้อนรับแขกที่มาเยือน
กรีกโบราณเห็นว่า
การเต้นรำเป็นสิ่งจำเป็นในการศึกษา การบวงสรวงเทพเจ้า เทพธิดา และการแสดงละคร
ปรัชญาเมธีพลาโต ให้ความเห็นว่า “พลเมืองกรีกที่ดี
ต้องเรียนรู้การเต้นรำเพื่อพัฒนาการบังคับร่างกายตนเอง ทักษะในการต่อสู้” ดังนั้นการเต้นรำด้วยอาวุธ
จึงถูกนำมาใช้ในการศึกษาทางทหารของเด็กทั้งในรัฐเอเธนส์และสปาร์ต้า
นอกจากนี้ยังถูกนำมาใช้ในการแต่งงาน ฤดูการเก็บเกี่ยวพืชผล และในโอกาสอื่นๆ
การเต้นรำทางศาสนา
เป็นส่วนสำคัญในการกำเนิดการละครของกรีก ระหว่าง 500 ปี ก่อน ค.ศ.
การละครของกรีกเรียกว่า “Tragidies” ซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวดในโบสถ์
และการเต้นรำเพื่อสรรเสริญเทพเจ้าดิโอนิซุส (God Dionysus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่น
การเต้นรำแบบ Emmeieia เป็นการเต้นรำที่สง่าภูมิฐาน
ได้ถูกนำมาใช้ในละคร Tragedies โดยครูสอนเต้นรำจะต้องบอกเรื่องราวและชี้แนะท่าทางที่ต้องแสดงเพื่อให้จดจำได้
การแสดงตลกขบขันสั้นๆ ของกรีกเรียกว่า “Satyrs” ก็จัดอยู่ในการเต้นรำของกรีกด้วย
เมื่อโรมันรบชนะกรีก
เมื่อ 197
ปี ก่อน ค.ศ. โรมันได้ปรับปรุงวัฒนธรรมการเต้นรำของกรีกให้ดีขึ้น
การเต้นรำของโรมันคล้ายกับของกรีกที่เต้นรำเพื่อบวงสรวงเทพเจ้า
หญิงชาวโรมันก็จะถูกฝึกให้เต้นรำ แม้แต่ชาวต่างชาติหรือพวกข้าทาสที่อยู่ในโรมันก็จะมีการเต้นรำด้วย
ชาวโรมันจะเต้นรำหลังจากการเพาะปลูกหรือกลับจากสงคราม
ในยุคนี้มีนักเต้นรำของโรมันที่มีชื่อเสียงมาก คือ ซิซีโร (Cicero: 106-43
B.C.) ซึ่งเป็นผู้คิดและปรับปรุงลักษณะท่าทางการเต้นรำของโรมันให้ดีขึ้น
ยุคกลางเป็นยุคที่ค่อนข้างสับสนวุ่นวาย
สังคมไม่สงบสุข โบสถ์มีอิธิพลต่อการเต้นรำของยุโรปมาก
โบสถ์มีข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการเต้นรำ
ทั้งนี้เป็นเพราะการเต้นรำบางอย่างถือว่าต่ำช้าและเพื่อกามารมณ์ อย่างไรก็ดี
ผู้ที่ชอบการเต้นรำมักจะหาโอกาสจัดงานเต้นรำขึ้นในหมู่บ้านของตนอยู่เสมอ ในปี ค.ศ.
300
บรรดาผู้ใช้แรงงานฝีมือ
ได้จัดละครทางศาสนาขึ้นและมีการเต้นรำรวมอยู่ด้วย
ระหว่างปี
ค.ศ. 300
กาฬโรคซึ่งเรียกว่า “ความตายสีดำ” ระบาดในยุโรป ทำลายชีวิตผู้คนไปมากจนทำให้ผู้คนแทบเป็นบ้าคลั่ง
ประชาชนจะร้องเพลงและเต้นรำคล้ายคนวิกลจริตที่หน้าหลุมศพ ซึ่งเขาเรียกว่าการแสดงของเขาจะช่วยขับไล่สิ่งเลวร้ายและขับไล่ความตายให้หนีไปจากชีวิตความเป็นอยู่ของเขา
ในยุคกลางยุโรปยังมีการเฉลิมฉลองการแต่งงาน
วันหยุด และประเพณีต่างๆตามโอกาสด้วย “การเต้นรำพื้นเมือง” ผู้ใหญ่และเด็กในชนบทจะจัดรำดาบ และเต้นรำรอบเสาสูงที่ผูกริบบิ้นจากยอดเสา
(Maypoles) พวกขุนนางที่ไปพบเห็นก็ได้นำมาพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น
การเต้นรำแบบวงกลมของบรรดาขุนนางซึ่งเรียกว่า “Carol” เป็นการเต้นรำที่ค่อนข้างช้า
ในช่วงปลายยุคกลาง การเต้นรำถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนแห่ต่างๆหรือในงานเลี้ยงที่มีเกียรติ
ยุคฟึ้นฟูเป็นยุคที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
ยุคฟื้นฟูเริ่มในอิตาลี เมื่อปี ค.ศ. 300 ในช่วงปลายสมัยกลางแล้วแผ่ขยายไปในยุโรป
ปี ค.ศ. 300 ในอิตาลี ขุนนางที่มั่นคงในเมืองต่างๆ
จะจ้างครูเต้นรำอาชีพมาสอนในคฤหาสน์ของตนเรียกการเต้นรำสมัยนั้นว่า Balli หรือ Balletti ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี แปลว่า “การเต้นรำ”
ในปี
ค.ศ. 1588
พระชาวฝรั่งเศสชื่อโตอิโน อาโบ (Thoinnot Arbeau: ค.ศ. 1519-1589) ได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการเต้นรำชื่อ
ออเชโซกราฟี (Orchesographin) ในหนังสือได้บรรยายถึงการเต้นรำแบบต่างๆ
หลายแบบ เป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก
บันทึกถึงการเต้นรำที่นิยมใช้กันในบ้านขุนนางต่างๆ ในยุโรประหว่างศตวรรษที่ 16
งานเลี้ยงฉลองได้ถูกจัดขึ้นตามโอกาสต่างๆเช่น
วันเกิด การแต่งงาน และการต้อนรับแขกที่มาเยือนในงานจะรวมพวกการเต้นรำ การประพันธ์
การดนตรี และการจัดฉากละครด้วย ขุนนางผู้หนึ่งชื่อ Lorenzo de Medlci ได้จัดงานขึ้นที่คฤหาสน์ของตน
โดยตกแต่งคฤหาสน์ด้วยสีสันต่างๆ และจัดให้มีการแข่งขันหลายๆอย่าง
รวมทั้งการเต้นรำสวมหน้ากาก (Mask Dance) ซึ่งต้องใช้จังหวะ
ดนตรีประกอบการเต้น
พระนางแคทเธอรีน
เดอ เมดิซี (Catherine
de Medicis) พระราชินีในพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 เดิมเป็นชาวฟลอเรนซ์แห่งอิตาลี
พระองค์ได้นำคณะเต้นรำของอิตาลีมาเผยแพร่ในพระราชวังของฝรั่งเศส
และเป็นจุดเริ่มต้นของระบำบัลเล่ย์
พระองค์ได้จัดให้มีการแสดงบัลเล่ย์โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงด้วย
ในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่
14 แห่งฝรั่งเศส ได้ปรับปรุงและพัฒนาการบัลเล่ย์ใหม่ได้ตั้ง
โรงเรียนบัลเล่ย์ขึ้นแห่งแรก ชื่อ Academic Royale de Dance จนทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของยุโรป
พระองค์คลุกคลีกับวงการบัลเล่ย์มาไม่น้อยกว่า
200 ปี โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงด้วย
บทบาทที่พระองค์ทรงโปรดมากที่สุดคือ บทเทพอพอลโลของกรีก จนพระองค์ได้รับสมญานามว่า
“พระราชาแห่งดวงอาทิตย์” การบัลเล่ย์ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่
14 นี้ค่อนข้างจะสมบูรณ์มาก
การเต้นระบำบัลเล่ย์ในพระราชวังนี้เป็นพื้นฐานของการลีลาศ
การเต้นรำในปี ค.ศ. 1700
ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ Gavotte, Allemande และMinuet รูปแบบการเต้นจะประกอบด้วยการก้าวเดินหรือวิ่ง
การร่อนถลา การขึ้นลงของลำตัว การโค้ง และถอนสายบัว
ภายหลังได้แพร่ไปสู่ยุโรปและอเมริกา เป็นที่ชื่นชอบของ ยอร์ช วอชิงตัน
ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกามาก การเต้นรำในอังกฤษซึ่งเป็นการเต้นรำพื้นเมืองและนิยมกันมากในยุโรป
เรียกว่า Country Dance ภายหลังได้แพร่ไปสู่อาณานิคมตอนใต้ของอเมริกา
ยุคโรแมนติกเป็นยุคที่มีการปฏิรูปเรื่องบัลเล่ย์ในสมัยนี้นักเต้นรำมีความเป็นอิสระเสรีในการเคลื่อนไหวและการแสดงออกของบุคคล
สมัยก่อนการแสดงบัลเล่ย์มักจะแสดงเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า เทพธิดา
แต่สมัยนี้มุ่งแสดงเกี่ยวกับชีวิตคนธรรมดาสามัญ เป็นเรื่องง่ายๆและจินตนาการ
ในสมัยที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศส
(ค.ศ. 1789)
ได้มีการกวาดล้างพวกกษัตริย์และพวกขุนนางไป
เกิดความรู้สึกอย่างใหม่คือ ความมีอิสระเสรีเท่าเทียมกัน เกิดการเต้นวอลซ์
ซึ่งรับมาจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งเชื่อกันว่ามีรากฐานมาจากการเต้น Landler
การเต้นวอลทซ์ได้แพร่หลายไปสู่ประเทศที่เจริญแล้วในยุโรปตะวันตก
เนื่องจากการเต้นวอลซ์อนุญาตให้ชายจับมือและเอวของคู่ เต้นรำได้ จึงถูกคณะพระคริสประณามว่าไม่เหมาะสมและไม่สุภาพเรียบร้อย
ในช่วงปี
ค.ศ. 1800-1900
การเต้นรำใหม่ๆที่เป็นที่นิยมกันมากในยุโรปและอเมริกา
จะเริ่มต้นจากคนธรรมดาสามัญโดยการเต้นรำพื้นเมือง
พวกขุนนางเห็นเข้าก็นำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับราชสำนัก เช่น การเต้น โพลก้า วอลซ์
ซึ่งกลายเป็นที่นิยมมากของคนชั้นกลางและชั้นสูง
ในอเมริการูปแบบใหม่ในการเต้นรำที่นิยมมากในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพและพวกที่ยากจน
คนผิวดำนิยมเต้น Tap-Danced
หรือระบำย่ำเท้า โดยรวมเอาการเต้นรำพื้นเมืองในแอฟริกา
การเต้นแบบจิ๊ก (jig) ของชาวไอริส และการเต้นรำแบบคล๊อก (Clog)
ของชาวอังกฤษเข้าด้วยกัน คนผิวดำมักจะเต้นไปตามถนนหนทาง
ก่อนปี
ค.ศ. 1870
การเต้นรำได้ขยายไปสู่เมืองต่างๆในอเมริกา
ผู้หญิงที่ชอบร้องเพลงประสานเสียงจะเต้นระบำแคนแคน (Can-Can) โดยใช้การเตะเท้าสูงๆ
เพื่อเป็นสิ่งบันเทิงใจแก่พวกโคบาลที่อยู่ตามชายแดนอเมริกา ระบำแคน-แคน
มีจุดกำเนิดมาจากฝรั่งเศส
จังหวะวอลซ์จากกรุงเวียนนา
ประเทศออสเตรีย ซึ่งเกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 17 แต่มิได้เผยแพร่
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1816 จังหวะวอลซ์
ได้ถูกนำมาเผยแพร่ต่อที่ประชุมโดยพระเจ้ายอร์ชที่ 4 แม้จะไม่สมบูรณ์นักในขณะนั้น
แต่ก็จัดว่าจังหวะวอลซ์เป็นจังหวะแรกของการลีลาศแท้จริง
เพราะคู่ลีลาศสามารถจับคู่เต้นรำได้
ในราวปี
ค.ศ. 1840
การเต้นรำบางอย่างกลับมาเป็นที่นิยมอีก อาทิ โพลก้า จากโบฮิเมีย
ซึ่งเป็นที่นิยมมากในเวียนนา ปารีส และลอนดอน จังหวะมาเซอก้า (Mazuka) จากโปแลนด์ก็เป็นที่นิยมมากในยุโรปตะวันตก
ในราวกลางศตวรรที่
19 การเต้นรำใหม่ๆก็เกิดขึ้นอีกมาก อาทิ การเต้นมิลิตารี่ สก๊อตติช (Millitary
Schottische) การเต้นเค็กวอล์ค (Cakewalk) ซึ่งเป็นการเต้นรำแบบหนึ่งของพวกนิโกรในอเมริกา
การเต้นทูสเตป (Two-Step) การเต้นบอสตัน (Boston) และการเต้นเตอรกีทรอท (Turkey trot)
ในศตวรรษที่
20 ค.ศ. 1910 จังหวะแทงโก้จากอาร์เจนตินา
เริ่มเผยแพร่ที่ปารีส เป็นจังหวะที่แปลกและเต้นสวยงามมาก
ในระหว่างปี
ค.ศ. 1912-1914
Vemon และ lrene Castle ได้นำรูปแบบการเต้นรำแบบใหม่ๆ
จากอังกฤษมาเผยแพร่ในอเมริกาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่จังหวะฟอกซ์ทรอทและแทงโก้
สมัยสงครามโลกครั้งที่
1 อังกฤษได้เลือกเฟ้นจังหวะเต้นรำทั้งบอลล์รูมและลาตินอเมริกาเรียบเรียงขึ้นเป็นตำรา
วางหลักสูตรของแต่ละจังหวะรัดกุม ในสมัยนี้ประเภทบอลรูม มีเพียง 4 จังหวะคือ วอลซ์ ควิกวอลซ์ สโลว์ฟอกซ์ทรอทและแทงโก้
ปี
ค.ศ. 1920
ในอเมริกาเริ่มนิยมจังหวะ Paso-Doble และการเต้นรำแบบก้าวเดียวสลับกัน
(One-step) ซึ่งเรียกกันว่า Fast fox-trot
ปี
ค.ศ. 1925
จังหวะชาร์ลตัน (Charleston) เริ่มเป็นที่นิยม
รูปแบบการเต้นคล้ายทูสเตป และในปีเดียวกันนี้ Arthur Murray ก็ได้ให้กำเนิดการเต้นรำแบบสมัยใหม่
(Modem Dances) ขึ้น
การเต้นรำแบบสมัยใหม่นี้เป็นการเต้นรำที่แสดงออกถึงจินตนาการของแต่ละบุคคล
ไม่มีท่าเต้นที่แน่นอนตายตัว บางครั้งก็นำท่าบัลเล่ย์มาผสมผสานด้วย
ปี
ค.ศ. 1929
จังหวะจิตเตอร์บัก (Jittebug) เริ่มเป็นที่นิยม
รูปแบบการเต้นต้องอาศัยยิมนาสติก การเบรก และการก้าวเท้าย่ำเร็วๆ
ในปีเดียวกันอิทธิพลจากเพลงแจ๊สของอเมริกา ทำให้เกิดจังหวะควิกสเตปขึ้น
เป็นจังหวะที่ 5 ของบอลรูม
ปี
ค.ศ. 1929
ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการลีลาศ (Official Board of Ballroom
Dancing) ขึ้นในประเทศอังกฤษและจัดการแข่งขันเต้นรำในอังกฤษทุกปี
ปี
ค.ศ. 1930
การเต้นรำของชาวคิวบา (Cuban Dance) ก็เป็นที่นิยมมากในอเมิกา
คือจังหวะคิวบันรัมบ้า หรือจังหวะรัมบ้า
ปี
ค.ศ. 1939
บรรดาครูลีลาศและผู้ทรงคุณวุติทางลีลาศในอังกฤษได้ร่วมกันวางกฏเกณฑ์ของลวดลายต่างๆ
ในลีลาศเพื่อให้เป็นมาตราฐานเดียวกัน ในแต่ละจังหวะมีประมาณ 20 ลวดลาย
ปี
ค.ศ. 1940
การเต้นคองก้าและแซมบ้าจากบราซิลก็เป็นที่นิยมกันมาก
ปี
ค.ศ. 1950
ได้จัดตั้งสภาการลีลาศระหว่างชาติ (International Council of
Ballroom Dancing) โดยใช้ชื่อย่อว่า I.C.B.D. และในปีเดียวกันนี้มีจังหวะใหม่ๆ
เข้ามาเผยแพร่อีก เช่น จังหวะแมมโบ้จาก คิวบา ชา ชา ช่า จากโดมินิกัน
และเมอเรงเก้จากโดมินิกันเช่นกัน
ปี
ค.ศ. 1959
จัดแข่งขันลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนโลกขึ้นที่ประเทศอังกฤษ
โดยจัดทั้งประเภทสมัครเล่นและอาชีพ ตามกฏเกณฑ์ที่สภาการลีลาศระหว่างชาติกำหนด
นอกจากนี้สภาการลีลาศระหว่างชาติได้กำหนดจังหวะมาตรฐานไว้ 4 จังหวะ
คือ วอลซ์ ฟอกซ์ทรอท แทงโก้ และควิกสเตป ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวะที่มีการจัดการแข่งขันมี วอลซ์แบบอังกฤษ ฟอกซ์ทรอท แทงโก้ ควิก สเตป
และเวนิสวอลซ์ นอกจากนี้อมริกาและอังกฤษได้แนะนำร็อคแอนด์โรคให้ชาวโลกได้รู้จัก
ปี
ค.ศ. 1960
มีจังหวะใหม่ๆ เกิดขึ้นในอเมริกาโดยคนผิวดำคือ จังหวะทวิสต์
การเต้นจะใช้การบิดลำตัว เข่าโค้งงอ
การเต้นจะไม่แตะต้องตัวกับคู่คือต่างคนต่างเต้น นอกจากนี้ยังมีจังหวะฮัสเซิล (Hustle)
และจังหวะบัสสาโนวา (Bossanova) ซึ่งดัดแปลงจากแซมบ้าของบราซิล
ปี
ค.ศ. 1970
นิยมการเต้นรำที่เรียกว่า ดิสโก้ (Disco) ซึ่งค่อนข้างเต้นแบบอิสระมาก
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันนี้มีการเต้นรำใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายแบบ เช่น แฟลชแดนซ์ (Flash Dances) เบรกแดนซ์ (Break Dances)ซึ่งมักจะเริ่มจากพวกนิโกรในอเมริกา และยังมีการเต้นรำโดยใช้ท่าบริหาร ร่างกายประกอบจังหวะดนตรีซึ่งเรียกว่า แอโรบิคดานซ์ (Aerobic Dances) ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ การเต้นรำแบบต่างๆ เหล่านี้ไม่จัดเป็นการลีลาศ
นอกจากนี้ จังหวะเต้นรำก็เกิดขึ้นใหม่ๆ อีกหลายจังหวะเช่น สลูปปี้ เจอร์ค วาทูซี่ เชค อโกโก้ แมทโพเตโต้ บูการลู ซึ่งจัดเป็นการเต้นรำสมัยใหม่อยู่ ไม่จัดเป็นการลีลาศเช่นกัน
ประวัติการเต้นฮิพฮอพ
การเต้น Hip Hop เป็นการเต้นตามจังหวะของดนตรี
Hip Hop ซึ่งลักษณะที่สำคัญของดนตรีประเภทนี้จะเป็นการร้อง
การพูด การแร็ป (Rap) ประกอบกับดนตรีอีเล็คโทรนิก
และเครื่องเคาะจังหวะประเภทต่างๆ (Percussions) ซึ่งเป็นเพลงที่มีจังหวะที่เร็วปานกลางถึงเร็วมาก
ดังนั้นท่าทางของการเคลื่อนไหวจึงเป็นการเต้นที่เร็ว มีการหยุด การกระตุกของร่างกายในแต่ละส่วน
(Isolation) หรือการ locking การย่อขาและโยกตัวตัวขึ้น-ลง
(Bouncing) และการกระโดด (Hop) ไปตามจังหวะเพลง
โดยผู้เต้นจะเต้นเน้นจังหวะตามจังหวะของกลองและเสียงกีตาร์เบส มีการเลียนแบบการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์
และกิริยาอาการต่างๆในชีวิตประจำวันของคนเราแล้วนำมาปรับเปลี่ยนเป็นท่าเต้นท่าต่างๆเพื่อความหลากหลายมากขึ้น
นอกจากนี้แล้วนักเต้น Hip Hop ยังมักนิยมนำเอาการเต้นเบรคแดนซ์
(Break Dance) มาเต้นประกอบการเต้น Hip Hop อีกด้วย
การที่การเต้นประเภท Hip Hop กลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายอย่างรวดเร็วในกลุ่มวัยรุ่นของไทย
จึงทำให้สถาบันสอนเต้นรำหลายสถาบันในประเทศเพิ่มการเต้น Hip Hop เข้าไว้เป็นหนึ่งในวิชาที่เปิดสอนของสถาบันนั้นๆ จึงยิ่งเป็นการทำให้การเต้นประเภทนี้แพร่ขยายไปเร็วขึ้นอีก
ถึงแม้ว่าการเรียน Hip Hop จะเริ่มได้ตั้งแต่อายุประมาณ
8-9 ปี แต่กลุ่มนักเรียน Hip Hop ในประเทศไทยมักจะเริ่มตั้งแต่เด็กวัยรุ่นอายุตั้งแต่ประมาณ
12-13 ปีเป็นต้นไปจนถึงวัยคนทำงาน โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการแสดงในงานกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนจัดขึ้น
เพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน เพื่อการแข่งขันหรือการประกวดเต้นรำต่างๆ และเพื่อความสนุกสนาน
รวมไปทั้งถือว่าเป็นการออกกำลังกายอีกประเภทหนึ่งด้วยเช่นกัน
ครูสอนเต้นรำที่ดีควรมีประสบการณ์ทั้งทางด้านการสอนและการแสดงค่อนข้างมาก
เช่น เดียวกับการสอนการเต้น Hip -Hop ซึ่งผู้สอนควรที่จะต้องมีประสบการณ์จึงจะสามารถสอนให้นักเรียนได้รับทั้งความรู้
ความสนุกสนาน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การเต้น Hip Hop นอกจากจะเป็นการเต้นที่เป็นการนำท่าเต้นต่างๆที่มีผู้คิดค้นเอาไว้แล้ว
และเป็นที่นิยมเต้นกันอย่างแพร่หลายมาสอนในชั้นเรียนแล้ว ยังสามารถเกิดจากการคิดท่าเต้นขึ้นมาใหม่เพื่อการสอนและการแสดงอีกด้วย
ลักษณะการเรียนการสอนการเต้น Hip Hop จึงมักจะขึ้นอยู่กับหลักการและประสบการณ์ของครูผู้สอนเป็นสำคัญ
แต่ในบางสถาบันยังจะขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารสถาบันอีกประการหนึ่งด้วย
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าวิธีการเรียนการสอน
Hip
Hop นั้นไม่ได้มีหลักการที่แน่นอนและตายตัว
และมักจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความสามารถและความถนัดของครูผู้สอนเป็นสำคัญ เช่นถ้าครูผู้สอนไม่สามารถเต้นท่าเบรคแดนซ์ได้
ก็มักจะสอนในท่าที่ง่ายๆหรือคิดออกแบบท่าเต้นที่ตนเองถนัดขึ้นมา ครูที่มีความสามารถในการเต้นหลายๆด้านก็จะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถสอนได้มีประสิทธิภาพมากกว่า
อาชีพที่ได้ชื่อว่าเป็นนักเต้นหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Dancer เป็นทั้งผู้ออกแบบท่าเต้นและเต้นให้กับศิลปินต่างๆ
หลักและวิธีการการเต้น Hip Hop จะแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่
อาชีพที่ได้ชื่อว่าเป็นนักเต้นหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Dancer เป็นทั้งผู้ออกแบบท่าเต้นและเต้นให้กับศิลปินต่างๆ
หลักและวิธีการการเต้น Hip Hop จะแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่
• การอบอุ่นร่างกาย (Warm
Up) โดยครูผู้สอนจะนำการอบอุ่นร่างกายในทุกส่วนตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า
ได้แก่ คอ ไหล่ ลำตัวช่วงบน (Rips) ช่วงกลางลำตัว สะโพก เข่า
ขา และเท้า โดยจะป็นการเคลื่อนไหวแบบแยกส่วน (Isolate)ไปในทิศทางต่างๆที่ร่างกายมนุษย์สามารถทำได้
เช่น ด้านหน้า ด้านข้างทั้งสองข้าง ด้านหลัง
และการเคลื่อนร่างกายส่วนต่างๆเป็นวงกลม เป็นต้น ท่าที่ใช้ในการอบอุ่นร่างร่างกายจะเป็นการฝึกท่าเต้นและการเคลื่อนไหวร่างกายในสไตล์
Hip Hop ขั้นพื้นฐานอีกด้วย
โดยการนำท่าฝึกหัดต่างๆมาเต้นต่อเนื่องกัน
• การโยกตัว (Hop) เป็นการฝึกที่เริ่มจากการงอลำตัวมาทางด้านหน้า แล้วยืดตัวขึ้น
โดยทำซ้ำๆกันหลายๆครั้ง แล้วเริ่มงอเข่า (ย่อเข่า) แล้วยืดเข่า(ไม่จำเป็นต้องยืดเข่าสุด)
ทำซ้ำหลายๆครั้งต่อเนื่องกันไปตามจังหวะ เมื่อคล่องแล้วจึงโยกตัวและย่อเข่าไปพร้อมๆกัน
แล้วจึงเริ่มก้าวเท้าไปยังทิศทางต่างๆ เช่น ด้านข้างซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า และด้านหลัง
เป็นต้น ต่อมาจึงเริ่มใช้ข้อศอกและแขนงอและตึงไปตามจังหวะของขา
• การเดิน (Walking) ประกอบด้วยการก้าวสไลด์เท้า ก้าวขา และหันตัวไปในทิศทางต่างๆโดยใช้เทคนิคการย่อขา
การถ่ายน้ำหนักจากขาหนึ่งไปยังอีกขาหนึ่ง และยืดขาเพื่อให้ลำตัวเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
• การล็อกตัว (Locking) คือการเคลื่อนไหวร่างกายแบบกระตุกแล้วหยุด สามารถฝึกได้ทั้งการกระตุกเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
และการรวมกันของส่วนของร่างกายมากกว่าหนึ่งส่วนขึ้นไปประกอบกันเป็นท่าต่างๆ
• การเต้นแบบหุ่นยนต์ (Robot)
เป็นการเต้นเลียนแบบการคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ โดยการเริ่มฝึกจะเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายไปทีละส่วน
เช่นการใช้แขนยกขึ้น กระตุกเล็กน้อยแล้วหยุด สามารถทำได้ทั้งแขนเดียวขึ้นลงสลับกัน
และทั้งสองแขนเคลื่อนไปพร้อมๆกัน เป็นต้น โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ทุกส่วนของร่างกายเช่นเดียวกัน
ท่าทางการเคลื่อนไหวแบบหุ่นยนต์มักใช้ประกอบในการเต้นเพื่อโชว์ถึงความสามารถพิเศษของผู้เต้น
เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าสนใจและความหลากหลายในการแสดง เป็นต้น
• การเต้นระบำ (Routine) เป็นการนำท่าเต้นต่างๆที่ฝึกมาเต้นประกอบดนตรีแบบต่อเนื่องกัน โดยผู้สอนจะค่อยๆเริ่มต่อท่าซึ่งมักเรียกกันว่าเป็นการต่อท่าเซ็ท
(Set) ทีละน้อย การเต้นระบำจะเป็นกลุ่มท่าที่ครูผู้สอนได้ออกแบบและเรียบเรียงขึ้นเพื่อเป็นการฝึกทักษะขั้นสูงขึ้นและไม่นิยมใช้ท่าเดียวกันเต้นซ้ำไปมาเหมือนกับการฝึก
exercise ต่างๆ ครูผู้สอนมักออกแบบท่าทางให้เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนส่วนใหญ่ในชั้นเรียน
โดยมีการพัฒนาโดยการเพิ่มจำนวนท่าเต้นให้ยาวขึ้นในแต่ละครั้งที่มีการเรียนการสอน และอาจมีการปรับเปลี่ยน
ท่าให้มีความยากขึ้นโดยใช้ท่าที่ต้องใช้ทักษะและความแข็งแรงของร่างกายมากขึ้น ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความสามารถของนักเรียนในชั้นเป็นสำคัญ
การเต้น Cover Dance
การเต้น Cover
Dance คือ การเต้นเลียนแบบศิลปินไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนก็ตาม
แต่ที่นิยมอยู่ในตอนนี้คงหนีไม่พ้นเกาหลี ซึ่งในปัจจุบันการเต้น Cover ศิลปินเกาหลีเป็นที่แพร่หลายอย่างมาก
การเต้นประเภทนี้เป็นการเต้น Hip Hop และ Poppinผสมผสานเข้าด้วยกัน เป็นการฝึกสมาธิให้กับผู้เรียน สามารถเต้นได้ทุกวัย ไม่จำกัดเพศและอายุ
เป็นการเต้นที่มีความสร้างสรรค์ และเป็นสิ่งที่ดี
ทำให้เราได้กล้าแสดงออกและมีเพื่อนใหม่
จากกระแสนิยมเกาหลีฟีเวอร์ที่เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตวัยรุ่นไทย
เริ่มจากที่ดู music video ของวงที่ชอบ
ดูซ้ำไปซ้ำมาจึงคิดว่า “ อยากเต้นแบบนั้นได้บ้างจัง ทำยังไงดีน้า
“ แรกๆาแค่เต้นตามเล่นๆ เฉพาะบางท่าที่ง่ายๆ หรือท่อนฮุค
ต่อมาเมื่อเต้นหลายเพลงเข้า รู้สึกทั้งสนุกและชอบมาก จึงอยากเต้นท่าอย่างมีแบบแผน
โลกของinternet
มีอิทธิพลเช่นกัน websiteที่เข้าบ่อยที่สุดคงไม่พ้น
www.youtube.com เว็บนี้ใช้searchหาเพลงที่ชอบ ดูที่เป็น music videoก่อนเพื่อให้ทำนองคุ้นหู
จากนั้นดูแบบ liveเพื่อแกะท่าเต้นคร่าวๆ แล้วจึงหาแบบ mirror
, dance , cover , step dance หรือ tutorial ไว้แกะท่าเต้นทุกท่า
การเต้นที่ดิฉันชอบคือ....การเต้น
Cover
Dance
COVER DANCE หรือการเต้นโคฟเวอร์ เป็นการนำเพลงและการเต้นของศิลปินที่เราชื่นชอบมา COVERใหม่ คำว่า “COVER” ในวงการดนตรี หมายถึงการนำดนตรี
หรือ เพลงต้นแบบมาทำซ้ำ ดัดแปลง หรืออาจจะลอกมาทั้งหมดเลยก็ได้
แต่ความหมายเชิงลึกแบบนี้มันก็คงจะฟังดูเข้าใจยากไปหน่อย คนทั่วไปจึงรู้จัก COVER
DANCE ในความหมายคือ “การเต้นเลียนแบบศิลปินที่เราชื่นชอบ”
ลองนึกถึงคนที่ชื่นชอบศิลปินญี่ปุ่น ที่ติดตามข่าวสาร และติดตามผลงานของศิลปินคนนั้นอย่างใกล้ชิด แต่เขาไม่สามารถจะแชร์ จะพูดถึงเรื่องที่ตัวเองชอบนี้ให้ใครฟังได้ เพราะไม่มีใครอื่นรู้จัก ไม่มีใครอื่นสนใจแบบเดียวกัน แต่อยู่มาวันหนึ่ง คนที่รู้จักศิลปินญี่ปุ่นก็มีเพิ่มมากขึ้นเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่กระจัดกระจายตามมุมต่างๆ พอเริ่มมีการรู้จักกันจากคนหนึ่ง เป็นสองคน จากสองคนก็กลายเป็นมากมาย เพราะความชื่นชอบศิลปินที่มาจากประเทศเดียวกัน ทำให้พูดคุยแลกเปลี่ยนมีอรรถรส มีความสุขอย่างมาก นอกจากได้พูดคุยกันแล้ว ก็มีเต้นตาม คือ ดูวิดีโอ ดูคอนเสิร์ต แล้วแกะท่าเต้นมาเต้นกัน เมื่อรวมกลุ่มกันได้จึงมีการซ้อมเต้นร่วมกัน และนำมาเต้นโชว์กัน...วงการ COVER DANCE ในประเทศไทย จึงถือกำเนิดขึ้น
ลองนึกถึงคนที่ชื่นชอบศิลปินญี่ปุ่น ที่ติดตามข่าวสาร และติดตามผลงานของศิลปินคนนั้นอย่างใกล้ชิด แต่เขาไม่สามารถจะแชร์ จะพูดถึงเรื่องที่ตัวเองชอบนี้ให้ใครฟังได้ เพราะไม่มีใครอื่นรู้จัก ไม่มีใครอื่นสนใจแบบเดียวกัน แต่อยู่มาวันหนึ่ง คนที่รู้จักศิลปินญี่ปุ่นก็มีเพิ่มมากขึ้นเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่กระจัดกระจายตามมุมต่างๆ พอเริ่มมีการรู้จักกันจากคนหนึ่ง เป็นสองคน จากสองคนก็กลายเป็นมากมาย เพราะความชื่นชอบศิลปินที่มาจากประเทศเดียวกัน ทำให้พูดคุยแลกเปลี่ยนมีอรรถรส มีความสุขอย่างมาก นอกจากได้พูดคุยกันแล้ว ก็มีเต้นตาม คือ ดูวิดีโอ ดูคอนเสิร์ต แล้วแกะท่าเต้นมาเต้นกัน เมื่อรวมกลุ่มกันได้จึงมีการซ้อมเต้นร่วมกัน และนำมาเต้นโชว์กัน...วงการ COVER DANCE ในประเทศไทย จึงถือกำเนิดขึ้น
COVER DANCE คือ
การเต้นเลียนแบบศิลปินไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนก็ตาม
แต่ที่นิยมอยู่ในตอนนี้คงหนีไม่พ้นเกาหลี ซึ่งในปัจจุบันการเต้นcover ศิลปินเกาหลีเป็นที่แพร่หลายอย่างมาก
การเต้นประเภทนี้เป็นการเต้น Hip Hop และ Poppin ผสมผสานเข้าด้วยกัน เป็นการฝึกสมาธิให้กับผู้เรียน สามารถเต้นได้ทุกวัย
ไม่จำกัดเพศและอายุ เป็นการเต้นที่มีความสร้างสรร และเป็นสิ่งที่ดี
ทำให้เราได้กล้าแสดงออกและมีเพื่อนใหม่
บางคนอาจคิดว่านี่เป็นเริ่องไร้สาระและเสียเวลา
แต่สำหรับคนที่ชอบอย่างข้าพเจ้าแล้ว นี่เป็นวิธีการลดความเครียดที่ได้ผลมาก
เป็นงานอดิเรกในยามว่างจึงไม่คิดว่าเป็นเรื่องที่เสียเวลาแต่อย่างใด
นอกจากนี้ยังเป็นการออกกำลังกาย ได้ทั้งสุขภาพทางกายและทางจิตใจอีกด้วย
ข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์
- เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- ฝึกความอดทนและความพยายาม
การแกะท่าเต้นเพลงใหม่แรกๆยากมากเพราะทำนองยังไม่คุ้นหู บางคนเต้นพลาดตลอด
จับจังหวะยังไม่ได้ไม่ได้ก็ล้มเลิกไปซะแล้ว แต่ถ้ามีความอดทน ใจเย็น
เราก้สามารถเต้นได้ตามแบบ
- ฝึกความสามัคคี
ในการเต้นcover แทบทุกเพลงจะเป็นทีมจึงต้องมีความสามัคคี
นัดแนะกันว่าใครจะเต้นตามใคร ใครออกท่าไหนท่อนไหน
โดยเฉพาะท่อนฮุคที่ต้องมีความพร้อมเพรียงมาก
- ต้องเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ดี
คนที่ชอบเต้นcoverเหมือนกันสามารถทำความรู้จักกันได้ง่ายเพราะชอบสิ่งที่เหมือนกัน
จึงมักรวมกลุ่มกันในยามว่างทำให้ได้เพื่อนใหม่อยู่เสมอ
ตัวอย่างการเต้นCover Dance
จากฉัน
"Renaissance"
cover KARA @ audition "HANMAEUM INTERNATIONAL SPORTS FESTIVAL 2013"
(งานเชื่อมสัมพันธ์ไทย– เกาหลี
สามารถเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้อีกด้วย)
ตัวอย่างการเต้นCover Dance ที่ท่าง่าย
แค่ขยับนิดเดียวก็สามารถเต้นได้อย่างศิลปิน
SISTAR(씨스타)
- Give It To Me 안무영상(Choreography Ver.)
A
Pink - My My (dance practice) DVhd
Apink
(에이핑크) - NoNoNo (Dance Ver.) MV
[Crayon Pop] 크레용팝 빠빠빠(Bar Bar Bar) - M/V (안무버젼)
https://www.facebook.com/kc5892/?fref=ts
ตอบลบสวัสดีค่ะ เจ้าของบล็อก อยากขอข้อมูลไปเผยแพร่ในหนังสือได้ไหมคะ รบกวนติดต่อกลับ jitsupuk.ocac@gmail.com ค่ะ
ตอบลบ